สำนักส่งเสริมอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร
จากการจัดตั้งกรมสนับสนุนบริการสุขภาพตาม พระราชบัญญัติ ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 และมีการทบทวน บทบาทภารกิจ ปรับปรุงกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2563 ซึ่งกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ได้ดำเนินการจัดส่วนราชการภายในและการจัดอัตรากำลังตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2563 โดยอยู่ภายใต้กองสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะกลุ่มพัฒนาอุตสาหกรรมบริการสุขภาพ และจัดตั้งหน่วยงานภายในกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ พ.ศ. 2563 ในการขับเคลื่อนภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคด้านระบบบริการสุขภาพของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ โดยตั้งเป็นหน่วยงานภายในกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ขึ้นเป็นส่วนราชการที่มีฐานะเทียบเท่ากอง ในสังกัดกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เนื่องจากในช่วงแรกของการจัดตั้งกองบทบาทและผลงานยังไม่เป็นที่ประจักษ์ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ แต่จากระยะเวลาที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในได้ส่งผลทำให้บทบาทภารกิจของกองสุขภาพระหว่างประเทศเปลี่ยนแปลงไปทั้งจากการได้รับมอบหมายภารกิจเพิ่มขึ้น การเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล ด้านเศรษฐกิจสุขภาพ การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (นโยบาย Medical Hub) และจากการปรับตัวเพื่อให้เท่าทันสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำหลักเกณฑ์แนวทางการกำหนดสถานกักกันตัวตามที่รัฐกำหนด สถานกักกันในกิจการเพื่อสุขภาพ และสถานกักกันในกิจการกอล์ฟ ให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรคสำหรับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไทย เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องทบทวนบทบาทภารกิจและโครงสร้างให้มีความเหมาะสมต่อไป
สำนักส่งเสริมอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Bureau of Medical Hub Industry Promotions) (MIP)” เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 เพื่อรับผิดชอบภารกิจหลักตามยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (นโยบาย Medical hub) ในฐานะเป็นเลขานุการ และองค์ประกอบคณะกรรมการฯ เป็นผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล และยุทธศาสตร์ฯ ซึ่งภายใต้คณะกรรมการอำนวยการได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการย่อยอีกจำนวน 4 คณะ ตาม 4 ผลผลิตหลักของแผนยุทธศาสตร์ Medical Hub ได้แก่ คณะอนุกรรมการ Wellness Hub/ คณะอนุกรรมการ Medical Service Hub/ คณะอนุกรรมการ Academic Hub และ คณะอนุกรรมการ Product Hub เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ขับเคลื่อนการดำเนินกิจกรรม/โครงการสำคัญเร่งด่วน (Quick Win) ตามแผนยุทธศาสตร์ฯ และคณะอนุกรรมการติดตามผลการดำเนินการในการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (นโยบาย Medical Hub)ซึ่งทุกคณะอนุกรรมการฯ มีสำนักส่งเสริมอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการฯขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลในการสร้างรายได้ให้กับประเทศ
ประกอบกับคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 เห็นชอบตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ คณะกรรมการต่างๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี (กระทรวงสาธารณสุข) โดยเห็นชอบในองค์ประกอบของคณะกรรมการอำนวยการเพื่อพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (นโยบาย Medical hub) (ฉบับปรับปรุง) โดยมีนายกรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ และสร้างกลไกและส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด
สำนักส่งเสริมอุตสาหกรรมการเเพทย์ครบวงจร กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ชั้น 5 อาคารกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เลขที่ 88/44 หมู่ 4 ซอยสาธารณสุข 8 ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000